เมนู

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคนเหล่าใดแล ทานของคนเหล่านั้นย่อมไม่มี
ผลมากย่อมไม่มีอานิสงส์มาก ผ้าที่มีราคาน้อยนั้น แม้ฉันใดบุคคลนี้ก็อุปไมย
ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีราคาน้อย.
2. แม้หากว่า ภิกษุชั้นมัชฌิมะ ฯลฯ
3. แม้หากว่าภิกษุชั้นพระเถระ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก เหมือน
ผ้าที่มีสีไม่ดีนั้นแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะชั่ว
ส่วนคนเหล่าใดย่อมสมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การ
สมาคมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แห่ง
ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน ผ้าที่นุ่งห่มไม่สบายแม้ฉันใด บุคคลนี้ก็อุปไมย
ฉันนั้น นี้ก็เพราะว่าบุคคลนี้มีสัมผัสเป็นทุกข์ ก็บุคคลนี้รับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคนเหล่าใด ทานของคนเหล่านั้น
ย่อมไม่มีผลมาก ย่อมไม่มีอานิสงส์มาก ผ้าที่มีราคาน้อย แม้ฉันใด บุคคลนี้
ก็อุปไมยฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีราคาน้อย หากว่าพระเถระเห็นปานนี้จะ
ว่ากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะกล่าวกับพระเถระผู้นั้นนั่นอย่างนี้
ว่า ประโยชน์อะไรด้วยคำกล่าวของท่านผู้โง่เขลาเบาปัญญา ถึงแม้ท่านจะ
สำคัญว่าควรกล่าวก็ดี พระเถระนั้นโกรธไม่พอใจก็จะเปล่งวาจาชนิดที่จะเป็น
เหตุให้สงฆ์ยกวัตร ดุจคนเอาผ้าไปโยนทิ้งเสียที่กองหยากเยื่อฉะนั้น บุคคลผู้
เปรียบด้วยผ้าป่าน 3 จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย.

อรรถกถาบุคคล 3 จำพวกที่อุปมาด้วยผ้าป่าน


บุคคล 3 จำพวกเหล่านั้นท่านเรียกว่า โปตฺถกูปมา แปลว่า ผู้เปรียบ
ด้วยผ้าป่าน ด้วยอุปมาใด เพื่อจะแสดงคำอุปมานั้นก่อน ท่านจึงกล่าวคำว่า
" ตโย โปตฺถกา" เป็นต้น. บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า "นโว" ได้

แก่ ผ้าที่ทอใหม่. บทว่า "โปตฺถโก" ได้แก่ ผ้าที่ทอดด้วยเปลือกป่าน. บทว่า
"ทุพฺพณฺโณ" ได้แก่ ผ้าที่มีสีทราม. บทว่า "ทุกฺขสมฺผสฺโส" ได้แก่ ผ้า
ที่มีสัมผัสกระด้าง. บทว่า "อปฺปคฺโฆ" ได้แก่ผ้าที่มีราคาไม่แพง คือมีราคา
ประมาณหนึ่งกหปาปณะ (หนึ่งกหาปณะ = 4 บาท) บทว่า "มชฺฌิโม" ได้
แก่ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่ อธิบายว่า ผ้านั้นล่วงเลยความเป็นของใหม่แต่ยังไม่
ถึงความเป็นของเก่าคร่ำคร่า แม้ในเวลาใช้สอยก็มีสีไม่สวยมีสัมผัสไม่สบายมี
ค่าน้อย เมื่อตีราคาขายแพงก็ได้ราคาเพียงครึ่งหนึ่ง แต่ในเวลาที่ผ้านั้นเก่า
แล้ว ก็มีราคาเพียงหนึ่งมาสก (10 สตางค์) หรือเพียง 1 กากณิก (กากณิกา =
ราคาเนื้อที่กากลืนกินครั้งหนึ่งเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในสมัยนั้น) บทว่า "อุกฺขลิ-
ปริมชฺชนํ"
ได้แก่ ผ้าเช็ดหม้อข้าว. บทว่า "นโว" ความว่า ว่าโดยการ
อุปสมบท นับแต่ 5 พรรษาลงมาภิกษุนั้นแม้มีอายุ 60 ปี ก็ชื่อว่า นวะ คือ
ผู้ใหม่ทั้งนั้น. บทว่า "ทุพฺพณฺณตาย" ความว่า เพราะมีวรรณะไม่งาม
ด้วยวรรณะแห่งสรีระบ้าง ด้วยวรรณะแห่งคุณงามความดีบ้าง. ก็วรรณะแห่ง
สรีระของผู้ทุศีลผู้นั่งในท่ามกลางบริษัทย่อมไม่รุ่งเรือง เพราะความที่ตนไม่มี
อำนาจ สำหรับในวรรณะคือคุณงามความดีของผู้ทุศีลนั้น ก็ไม่จำเป็นต้อง
กล่าวถึงเลย. ข้อว่า "เย โข ปนสฺส" ความว่า ก็ชนเหล่าใดแล เป็นผู้
อุปัฏฐาก หรือเป็นญาติ และเป็นมิตร เป็นต้นของผู้ทุศีลนั้น เขาย่อมเสพ
บุคคลคนหนึ่ง. บทว่า "เตสนฺตํ" ความว่า การเสพนั้นแห่งบุคคลเหล่านั้น
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน
เหมือนพวกมิจฉาทิฏฐิผู้เสพครูทั้ง 6 หรือเหมือนโกกาลิกภิกษุเป็นต้นผู้เสพ
พระเทวทัต ฉันนั้น. บทว่า "มชฺฌิโม" ความว่า ว่าโดยการอุปสมบท
นับตั้งแต่ 5 พรรษาจนถึง 91 พรรษา ชื่อว่า มัชฌิมภิกษุ. บทว่า "เถโร"

1. ในที่อื่นตั้งแต่ 5-10 พรรษา.

ความว่า ตั้งแต่ 10 พรรษาไปชื่อว่า พระเถระ. บทว่า "เอวมาหํสุ" ได้
แก่ ย่อมกล่าวอย่างนี้ ข้อว่า "กินฺนุ โข ตุยฺหํ" ความว่า มีคำที่ท่านอธิบาย
ไว้ว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยคำกล่าวของคนพาล. บทว่า "ตถารูปํ"
ได้แก่ อันเป็นเหตุอุกเขปนียกรรม ที่มีชาติอย่างนั้น มีสภาวะอย่างนั้น.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี
3 จำพวก เป็นไฉน ?

[96]

ผ้าแคว้นกาสี 3 ชนิด คือ


1. ผ้ากาสีแม้อย่างใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
2. ผ้ากาสีแม้กลางเก่ากลางใหม่ก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก
3. ผ้ากาสีแม้อย่างเก่าก็มีสีงาม นุ่งห่มสบายและมีราคามาก คน
ทั้งหลายย่อมเอาผ้ากาสีแม้เก่าแล้ว ไปใช้สำหรับห่อรัตนะบ้าง หรือเก็บผ้ากาสี
นั้นไว้ในโถหอมบ้าง.

[97] บุคคลเปรียบด้วยผ้าแคว้นกาสี 3 จำพวก เหล่านี้ มี
ปรากฏอยู่ในภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

บุคคล 3 จำพวก เป็นไฉน ?
1. แม้หากว่าภิกษุใหม่มีศีล มีธรรมอันงาม แม้ฉันใด บุคคลเหล่า
นี้ ก็อุปไมย ฉันนั้น นี้ก็เพราะบุคคลนี้มีวรรณะงาม ส่วนคนเหล่าใด ย่อม
สมาคม ย่อมคบ ย่อมเข้าใกล้ ย่อมเอาอย่างบุคคลนี้ การเสพนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน ผ้ากาสีนั้น